Chat with us!
Instagram

Mitsu RMA

7 วิธีรับมือ เมื่อรถเสียบนทางด่วน

7 วิธีรับมือ เมื่อรถเสียบนทางด่วน

7 วิธีรับมือ เมื่อรถเสียบนทางด่วน

รถเสียกลางทางเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่เลือกเวลา แต่ดันไปเลือกสถานที่เป็นทางด่วนนี่สิ นับว่าเป็นฝันร้ายของคนใช้รถใช้ถนน เพราะบางเส้นไม่ค่อยมีไหล่ทาง หรือจู่ ๆ รถยนต์เกิดดับกลางทาง แล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารถติดบนท้องถนน ปัจจัยหลักที่ทำให้รถเสียมีอยู่หลากหลายสาเหตุมาก เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ ระบบไฟฟ้า ไดชาร์จ หรือไดสตาร์ท เป็นต้น วันนี้ทีมงาน Mitsu RMA มีวิธีรับมือเมื่อรถเสียบนทางด่วนให้ทุกคนได้ศึกษาพอเป็นแนวทาง 

วิธีรับมือที่ 1 : เปิดไฟฉุกเฉิน (Hazard Lights) เพื่อเตือนรถคันข้างหลัง

เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนผู้ขับขี่คนอื่นว่ารถของคุณมีปัญหาและอาจอยู่ในที่อันตราย ในกรณีนี้ควรเปิดไฟเมื่อรถเกิดปัญหาแล้ว เพราะปัจจุบันอาจมีผู้ขับขี่ที่ไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการใช้งานไฟฉุกเฉินอย่างแท้จริง และเปิดในกรณีที่ไม่ได้ฉุกเฉินจริง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ โดนไฟฉุกเฉินหรือ Hazard Lights ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้เท่านั้น

  • รถเกิดปัญหาขณะขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นบนท้องถนนหรือบนไหล่ทางก็ตาม และกรณีที่จอดบริเวณที่ไม่ใช่ที่จอดรถ เพื่อเป็นสัญญาณบอกรถคันอื่น และหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด
  • เตือนให้คันที่ตามมาระวัง เช่น การซ่อมถนน เกิดอุบัติเหตุข้างหน้า มีสิ่งกีดขวางบนท้องถนน เหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ใช้เพื่อเตือนคันข้างหลัง เพื่อให้คันข้างหลังสามารถเผื่อระยะในการเบรคได้ ช่วยลดปัญหาชนท้าย 
  • ใช้ไฟฉุกเฉินในกรณีที่ทัศนวิสัยไม่ดี กรณีที่ฝนตกหนัก หมอกลงหนา จนทำให้ไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้อย่างชัดเจน ซึ่งแท้จริงแล้วควรเปิดไฟฉุกเฉิน กรณีที่จอดเทียบข้างทางเท่านั้น เพื่อเตือนรถคันข้างหลัง
  • ไม่ควรใช้ไฟฉุกเฉินในขณะที่กำลังจะเลี้ยวโค้ง เพราะอาจทำให้รถข้างหลังเข้าใจผิด ว่าข้างหน้าเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน อาจเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะรถคันที่ตามมาอาจเบี่ยงไปอีกทางที่กำลังจะเลี้ยว 
  • เปิดไฟฉุกเฉินบ่อย เสี่ยงแบตหมดไว เพราะการเปิดไฟฉุกเฉิน เป็นการดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ จึงทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว อายุใช้งานไม่ยาวนานเท่าที่ควรจะเป็น 

วิธีรับมือที่ 2 : จอดรถเทียบข้างทาง

หาจุดที่ปลอดภัยที่สุด และเป็นจุดที่สามารถสังเกตได้ง่าย กรณีที่รถยังพอขับได้ รู้ตัวว่ารถกำลังจะต้องดับแน่ๆ ให้รีบนำรถเข้าข้างทางโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าในกรณีที่รถดับกลางทางเลย ให้แก้ไขด้วยวิธีการที่ 1 นั่นคือการเปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้แก่คันข้างหลัง หลังจากนั้นให้มีคนบังคับพวงมาลัย 1 คน และอีกคนเป็นคนเข็นรถ แต่ถ้าเกิดอยู่ตัวคนเดียว ต้องรีบขอความช่วยเหลือจากรถคันอื่น เจ้าหน้าที่ทางด่วน หรือตำรวจทางหลวง เพื่อนำรถเข้าข้างทาง และเข้าสู่กระบวนการถัดไป และที่สำคัญควรจอดรถเทียบข้างทางให้ชิดมากที่สุด และติดต่อเจ้าหน้าที่หรือช่างเพื่อเอารถออกจากบริเวณนั้นให้เร็วที่สุด 

นอกจากนำรถจอดเทียบข้างทางแล้ว  ต้องเลือกที่จอดที่สามารถเป็นจุดสนใจได้ มีแสงสว่างเพียงพอ และไม่ควรจอดบริเวณทางลาดชัน หัวทางโค้ง บริเวณแยกต่างๆ แต่ถ้าเลือกจอดไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องจอดในที่ที่ไม่ได้เป็นสูตรสังเกตุเท่าไหร่ ก็ควรวางป้ายฉุกเฉิน เพื่อให้รถคันที่ตามมาทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดข้างหน้า 

วิธีรับมือที่ 3 : ติดตั้งป้ายเตือน 

หากมีป้ายเตือนหรือสามเหลี่ยมสะท้อนแสง ให้ติดตั้งที่บริเวณด้านหลังของรถประมาณ 50-100 เมตร เพื่อเตือนรถที่ขับผ่าน โดยป้ายเตือนนั้นควรเลือกซื้อแบบสะท้อนไฟรถ สามารถหาซื้อได้จากแหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ สะดวกง่ายแค่ปลายนิ้ว ป้ายเตือนสะท้อนแสงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ป้ายเตือนจะกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดรถเสียบนทางด่วน 

แต่ในกรณีที่ไม่มีป้ายเตือนฉุกเฉิน สามารถใช้สิ่งของที่มีบนรถนำมาวางไว้เพื่อเตือนรถคันหลังก็ได้ โดยวางห่างตัวจากตัวรถประมาณ 50-100 เมตร เช่นเดียวกันกับการวางป้ายสามเหลี่ยม แต่ต้องเลือกวัตถุที่มีขนาดและลักษณะที่พอเป็นจุดสังเกตเห็นได้ 

แต่ถ้าโชคไม่เข้าข้างเลย ป้ายสามเหลี่ยมก็ไม่มี ของบนรถที่พอจะเป็นจุดสังเกตได้ก็ไม่มี ให้เปิดฝาท้ายรถให้เป็นจุดสังเกตแทน อย่างน้อยก็ช่วยให้รถคันข้างหลังได้เห็นว่ารถของเรากำลังมีปัญหา เรื่องการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน 

วิธีรับมือที่ 4 : โทรติดต่อขอความช่วยเหลือ

แน่นอนว่าเมื่อรถเสียบนทางด่วนคนที่ควรโทรหาเป็นสายแรก ไม่ควรเป็นคนในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด แต่ควรโทรหาบริษัทประกันหรือศูนย์บริการรถเป็นสายแรก เพื่อจะได้ทำการซ่อมหรือลากรถออกไปจากบริเวณทางด่วนโดยเร็วที่สุด โดยระบุรายละเอียดให้ชัดเจน 

  • รายละเอียดของตัวรถ : รถที่เสีย คือ รถอะไร สีอะไร ยี่ห้ออะไร 
  • ตำแหน่งที่รถจอดเสียอยู่ : มีอะไรเป็นจุดสังเกตบริเวณรอบข้าง 
  • เส้นทางการเดินทาง : เดินทางจากไหนไปไหน

เมื่อโทรขอความช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยโทรหาบุคคลใกล้ตัวภายหลัง เราได้รวบรวมเบอร์โทรติดต่อสำหรับการขอความช่วยเหลือในขณะที่รถเสียบนทางด่วนไว้ให้ ดังนี้

  • แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย โทร. 191 หรือ 1190
  • ตำรวจทางหลวงหรืออุบัติเหตุบนทางหลวง โทร. 1193
  • กรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
  • สายด่วน 1669 (กรณีที่เกิดการบาดเจ็บ)
  • การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
  • สายด่วนอุบัติเหตุ โทร. 02-711-9161 หรือ 02-711-9162
  • สายด่วนมอเตอร์เวย์ โทร. 1586
  • จส. 100 โทร. 1137

แต่ถ้าโชคไม่เข้าข้าง เกิดเหตุโทรศัพท์แบตหมดอีก สามารถใช้บริการโทรศัพท์บนทางด่วนได้ ซึ่งเป็นตู้โทรศัพท์สีส้ม มีไว้ใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินเท่านั้น ที่มีทุก 500 – 1000 เมตร โดยไม่ได้มีไว้เพื่อโทรหาปลายสาย แต่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่บนทางด่วนเพื่อขอความช่วยเหลือได้ 

วิธีรับมือที่ 5 : รอคอยอย่างมีสติ

หลังจากที่โทรประสานขอความช่วยเหลือไปแล้ว คงทำอะไรไม่ได้นอกจากรอ โดยปกติถ้าต้องการยืนรอ ไม่แนะนำให้ยืนท้ายรถ  เพราะเสี่ยงต่อการถูกโดนชนได้ แม้จะมีอุปกรณ์แจ้งเตือนแล้วก็ตาม ตำแหน่งที่ควรยืนรอควรจะเป็นบริเวณหน้ารถ เพราะอย่างน้อยกรณีที่รถคันหลังไม่เห็นป้ายเตือน และเกิดอุบัติเหตุชนท้าย ก็จะชนที่ตัวรถก่อนเป็นลำดับแรก แต่ถ้าต้องใช้เวลารอนานกว่าปกติ สามารถนั่งรอในรถได้ แต่ต้องมั่นใจว่าบริเวณนั้นมีความปลอดภัยพอสมควร 

วิธีรับมือที่ 6 :  อย่าซ่อมเอง

ไม่ควรซ่อมรถ หรือเปลี่ยนอะไหล่ด้วยตนเอง อาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อีกหนึ่งประการ คือ เรื่องความปลอดภัย การซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่กลางท้องถนน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้โดยตรง ถนนไม่ได้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการซ่อมบำรุง และเราไม่ได้มีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับระบบรถอย่างแท้จริง อาจทำให้เมื่อซ่อมไปแล้วเกิดอาการผิดปกติกว่าที่เคย ก็จำเป็นจะต้องตรวจสภาพรถเพิ่มอีก

วิธีรับมือที่ 7 : เตรียมเอกสารให้พร้อม

เอกสารที่จำเป็นต้องมีคือเล่มรถ กรมทัณฑ์ ใบขับขี่ รวมถึงหลักฐานจากภาพกล้องรถ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการขั้นต่อไป โดยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สามารถทำขณะรอได้ 

รถเสียกระทับหันบนทางด่วน

สิ่งที่ไม่ควรทำขณะรถเกิดเสียบนทางด่วน เพราะทางด่วนเป็นรถทางตรงวิ่งระยะยาว และเป็นที่รู้กันว่าบนทางด่วนคนขับรถไวอยู่แล้ว และมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูง เมื่อรถเกิดเสียอย่างกะทันหันบนทางด่วน ความปลอดภัยเป็นสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เราจึงไม่ควรทำการต่อไปนี้ 

  • ไม่นำรถจอดข้างทาง หรือจอดรถบริเวณทางขึ้น ทางลงจากทางด่วน บริเวณทางโค้ง เพราะประเด็นเหล่านั้นเป็นจุดที่อันตราย เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง 
  • เปิดประตูรถทิ้งไว้ ต่อให้จะจอดรถข้างทางแล้ว แต่ก็ไม่ควรเปิดประตูรถฝั่งคนขับทิ้งไว้ เพราะจะทำให้กินพื้นที่ในเลนส์สำหรับรถวิ่ง อาจเกิดการเฉี่ยวชนได้ 
  • ไม่เปิดไฟฉุกเฉิน วางป้ายสัญญาณเตือน  หรือเปิดฝากระโปรงท้าย ทำให้รถที่ตามมาไม่รู้ว่ารถเราเสียอยู่ 

7 วิธีรับมือ เมื่อเกิดเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องรับมือให้ได้ จำเป็นต้องมีสติมากๆ โดยคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก และความรวดเร็วในการจัดการปัญหาตรงหน้า ซึ่งวิธีรับมืออยู่ 7 วิธี และวิธีที่ไม่ควรทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ประกอบด้วย 

  • เปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อเตือนรถคันข้างหลังและป้องกันอุบัติเหตุ
  • จอดรถเทียบข้างทาง เพื่อป้องกันรถติดขณะรอซ่อม 
  • ติดป้ายเตือน หรือเปิดฝาท้าย ประมาณ  50 ถึง 100 เมตร 
  • โทรขอความช่วยเหลือ แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าตนเองอยู่บนทางด่วนประเภทไหน
  • รอคอยอย่างมีสติ และอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
  • ไม่ควรซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ด้วยตนเอง

ข้อมูลอ้างอิง: https://safedrivedlt.com/

สาระน่ารู้เกี่ยวกับรถ

ป้ายกำกับ

0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่ากลับสู่ร้านค้า