Chat with us!
Instagram

Mitsu RMA

8 วิธี ดูแลระบบเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้นานขึ้น

8 วิธี ดูแลระบบเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้นานขึ้น

8 วิธี ดูแลระบบเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้นานขึ้น

มนุษย์เกือบทุกคนต้องสัมผัสกับการตรวจสุขภาพประจำปีกันมาบ้าง เพราะร่างกาย่อมมีการสึกตามกาลเวลา ยิ่งทำงานหนัก ร่างกายก็ยิ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด รถยนต์ก็เปรียบได้กับร่างกายมนุษย์นี่แหละ เพียงแต่รถยนต์ไม่สามารถหาสารอาหารบำรุงได้เอง เราจึงต้องทำการตรวจสภาพรถเป็นประจำทุกปี หรือตามที่ระยะทางกำหนด เพื่อสังเกตว่าระบบต่าง ๆ ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ โดยเฉพาะระบบเครื่องยนต์ที่เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งการดูแลระบบเครื่องยนต์ก็ง่ายดายเอาเสียมาก ๆ ควรดูแลอย่างถูกวิธี เพื่อยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า

ทำความรู้จักกับระบบเครื่องยนต์สักหน่อย

เครื่องยนต์ คือ ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับรถคันหนึ่ง ซึ่งแต่ละฐานผู้ผลิตก็จะมีความแตกต่างและเอกลักษณ์ประจำตัวต่างกันไป เครื่องยนต์เป็นจุดกำเนิดในการขับเคลื่อนตัวรถ ปัจจุบันมีทั้งเครื่องยนต์ประเภทดีเซลและเบนซิน หลักการทำงานแบบคร่าว ๆ จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนจำนวน 18 ชิ้นส่วนโดยประมาณ และต้องอาศัยการทำงานไปอย่างพร้อม ๆ กันจึงจะสมบูรณ์แบบ (จำนวนมากหรือน้อยถึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละฐานผลิต) ตัวอย่างชิ้นส่วนที่จำเป็นต่อระบบเครื่องยนต์มีดังนี้

  • ฝาสูบ (Cylinder Head) อยู่บนสุดของเครื่องยนต์ ทำหน้าที่ปิดฝาเครื่องยนต์ มีความแข็งแรงทนทาน
  • เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) ถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ กลายเป็นการเคลื่อนที่
  • หัวฉีด (Injector) ศูนย์กลางในการจ่ายน้ำมันไปตามจุดต่าง ๆ ในลักษณะฝอยละเอียด ยังช่วยในการดดูดอากาศในห้องเครื่องอีกด้วย
  • อ่างน้ำมันเครื่อง (Crankcase) ทำหน้าที่เก็บน้ำมันเครื่อง แล้วส่งไปหล่อลื่นตามส่วนต่าง ๆ 
  • กระบอกสูบ (Cylinder) มักเห็นได้บ่อยผ่านการโฆษณา ลักษณะเป็นช่องทรงกระบอก ทำงานร่วมกับลูกสูบภายใน (Piston) เพื่ออัดน้ำมันเชื้อเพลิง และจุดระบบให้กลายเป็นพลังงาน
  • หัวเทียน (Spark Plug) ทำให้เกิดประกายไฟและเป็นการระเบิดภายในกระบอกสูบขึ้นมา

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแต่อุปกรณ์ภายในต้องไม่เสื่อมสภาพ คงสภาพการใช้งานอย่างปกติ โดยระบบเครื่องยนต์จะอาศัยการระเบิดจากกระบอกสูบ เปลี่ยนพลังงานเหวี่ยงจากเพลา และส่วนต่าง ๆ กลายเป็นพลังงานในการขับเคลื่อน

8 วิธี บำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์

เช็ครถประจำปีเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของรถไม่ควรลืม ซึ่งประโยชน์ของการตรวจเช็คก็มีอยู่มากมาย สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และมีความปลอดภัยของผู้ใช้งานขณะขับขี่ การดูแลเครื่องยนต์ไม่จุกจิกมาก เพียงต้องหมั่นดูแลอย่างอย่างใกล้ชิด

  • ตรวจเช็คเครื่องยนต์เป็นประจำ เพื่อตรวจสอบว่ามีชิ้นส่วนใดสึกหรอ หรือทำงานผิดปกติจากเดิมไปหรือไม่ เนื่องจากระบบเครื่องยนต์ต้องอาศัยการทำงานจากทุกชิ้นส่วนอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนของ วาล์ว กระบอกสูบ หัวเทียนและชิ้นส่วนอื่น ๆ 
  • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำเมื่อครบระยะ เพราะว่าน้ำมันเครื่องสามารถยืดอายุให้กับห้องเครื่องและชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ใช้งานได้อย่างยาวนานมาขึ้น มาตรฐานการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจะอยู่ที่ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร ต่อการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแต่ละครั้ง 
  • ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องด้วยตัวเอง อย่างน้อยเดือละ 1 ครั้ง หรือทุก 1-2 สัปดาห์ หากพบว่าน้ำมันอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ รีบไปศูนย์บริการเพื่อเติมน้ำมันเครื่องอย่างถูกวิธีโดยด่วน
  • ในทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง อย่าลืมตรวจเช็คไส้กรองน้ำมันเครื่องด้วย หรือเปลี่ยนทุก 10,000 กิโลเมตร เนื่องจากไส้กรองจะทำหน้าที่กรองฝุ่น สิ่งสกปรก เขม่า เศษโลหะ ออกจากน้ำมัน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเหล่านั้นเข้าไปเสียดสีจนทำให้อายุการใช้งานลดลง 
  • สังเกตอาการรถขณะขับขี่ว่ามีอาการ ‘เครื่องสะดุด หรือกินน้ำมันกว่าปกติ’ หรือไม่ หากรถเริ่มมีอาการกล่าว นั่นแสดงว่าหัวฉีดกำลังอุดอัน  ทำให้ไม่สามารถฉีดน้ำมันเป็นฝอยได้อย่างที่เคย ควรล้างหัวฉีดด้วยน้ำยาเฉพาะทุก 5,000 กิโลเมตร
  • รักษาความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ด้วยการล้างรถเป็นประจำอย่างมากที่สุด 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าไปเกาะตามชิ้นส่วนของเระบบเครื่องยนต์ แต่ไม่ควรล้างบ่อยจนเกินไป เพราะอาจทำให้สารเคลือบผิวหลุดออกได้
  • ไม่เพิ่มความเร็วกระทันหัน หรือเพิ่มรอบโดยไม่มีเหตุจำเป็น เพราะการเพิ่มรอบหรือความเร็วต้องอาศัยการเผาไหม้จากระบบเครื่องยนต์เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อน เมื่อเครื่องยนต์ทำงานหนักจากการเผาไหม้ บางชิ้นส่วนของเครื่องยนต์อาจะเสียหายได้เร็วขึ้น
  • เปลี่ยนหัวเทียนเมื่อถึงกำหนดเวลา สำหรับระบบเครื่องยนต์นั้น หัวเทียนถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ เพราะระบบจะทำงานอย่างสมบูรณ์แบบได้ก็ต่อเมื่อหัวเทียนได้จุระเบิด เพื่อเริ่มการเผาไหม้ในห้องเครื่อง ควรเปลี่ยนเมื่อรถวิ่งได้ระยะประมาณ 10,000 – 50,000  กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

วิธียืดอายุการใช้งานรถได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น

แน่นอนว่าอายุการใช้งานของรถ 70% คือ การบำรุงรักษา อีก 30% คือ การซ่อมแซม การจะยืดอายุรถให้ได้อย่างยาวนานก็ขึ้นอยู่กับการดูแลเสียส่วนใหญ่ ซึ่งรถทุกคันจะทำงานเป็นระบบจากส่วนต่าง ๆ เครื่องยนต์ไม่สามารถขับเคลื่อนได้หากไม่มีล้อ หรือแม้แต่ระบบไฟที่สามารถมอบความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ ฉะนั้นควรดูแลให้ครบทุกส่วนของรถ 

  • ลมยาง เนื่องจากยาต้องแบกรับน้ำหนักรถทั้งหมดโดยเฉลี่ย 4 เส้น อัตราลมยางที่พอดี คุณภาพยางที่ไม่ปริแตก จะทำให้การขับขี่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  •  ระบบเบรค ไม่ควรละเลยการตรวจเช็คผ้าเบรค รวมถึงสังเกตพฤติกรรมการเหยียบเบรคว่ามีระยะลึกกว่าปกติหรือไม่ ที่สำคัญควรตรวจสอบปริมาณน้ำมันเบรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตลอดเวลา 
  • ระบบหล่อเย็น มีความสำคัญมาก เพราะว่าระบบนี้จะคอยควบคุมอุณหภูมิภายในเครื่องยนต์ให้มีอุณหภูมิเหมาะสมกับการทำงานแต่ละสภาพอากาศ จนเครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างปกติ 
  • เปลี่ยนไส้กรองต่าง ๆ  ไส้กรองมีอายุการใช้งานอย่างจำกัด เมื่อไส้กรองสกปรกจนไม่สามารถกรองอะไรได้แล้ว นั่นจะทำให้สิ่งสกปรกเข้าไปในระบบต่าง ๆ ของตัวรถในระบบต่างๆของตัวรถ 
  • ตรวจเช็คสายพานเป็นประจำ โดยทั่วไปแล้วสายพานจะมีอายุการใช้งานประมาณ 50,000 กิโลเมตร เมื่อสายพานชำรุดจะต้องรีบเปลี่ยนใหม่ทันที 
  • ระบบไฟ โดยเฉพาะไฟเลี้ยวทั้งหน้าและหลัง หากพบว่าไฟเลี้ยวดวงใดก็ตามไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ควรซ่อมให้เร็วที่สุดเ พราะไฟเลี้ยวสำคัญต่อการขับขี่บนท้องถนนมาก 
  • ดูแลระบบเครื่องยนต์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งการทำความสะอาดและตรวจชิ้นส่วนภายในอย่างละเอียด ห้องเครื่องที่ทำงานอย่างปกติสามารถยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ได้อีกหลายปีเลยทีเดียว
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ที่ดูเหมือนจะไม่เป็นการถนอมเครื่องยนต์เลย เช่นการเร่งเครื่องกะทันหัน การเหยียบเบรคที่ถี่เกินไป เพราะการกระทำดังกล่าวจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักมากกว่าเดิม 
  • ตาดูหูฟัง หมั่นสังเกตอาการของเครื่องยนต์ ว่ามีเสียงหรือการทำงานผิดปกติไปจากเดิมหรือเปล่า หากมีอาการต้องรีบทารกเข้าศูนย์บริการทันที 

น้ำมันเครื่องจำต่อเครื่องยนต์ไหม?

น้ำมันเครื่อง คือ ของเหลวชนิดหนึ่ง มีเอาไว้เพื่อหล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ในห้องเครื่อง เพื่อลดอาการเสียดสีภายใน ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งน้ำมันเครื่องเมื่อเมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง สีของน้ำมันก็จะเปลี่ยนไปจากเดิมค่อนข้างเยอะ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือตามระยะเวลาที่ศูนย์บริการได้นัดไว้ ซึ่งน้ำมันเครื่องที่ใช้ในปัจจุบันจะมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้ 

  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Synthetic) มีอายุการใช้งานยาวนานและอัตราการระเหยต่ำ
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) มีวิธีการผลิตและคุณสมบัติคล้ายกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แต่จะมีราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว 
  • น้ำมันเครื่องเกรดรวม (Multi Grad) เหมาะกับเครื่องยนต์ทุกชนิด เพราะน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถเปลี่ยนค่าความหนืดได้ตามอุณหภูมิห้องเครื่อง
  • น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว จะมีอุณหภูมิกำหนดที่บริเวณหน้าแกลลอน ส่วนมากมักจะอยู่ที่ 50 – 40 องศา ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งาน 

อย่ามองข้ามประโยชน์และความสำคัญของการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเด็ดขาด เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถดูแลระบบเครื่องยนต์ได้ง่าย ๆ และจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเป็นประจำ นอกจากจะช่วยหล่อลื่นไม่ให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ สัมผัสกันโดยตรง ยังช่วยให้สมรรถนะในการขับขี่ดีขึ้นอีกด้วย 

ล้างห้องเครื่องรถยนต์ด้วยตัวเองได้ไหม ?

การดูแลเครื่องยนต์ของรถยนต์เป็นเรื่องง่ายที่ใคร ๆ การล้างห้องเครื่องด้วยตนเอง ทำให้สามารถรับรู้ได้เลยว่ามีฝุ่นสะสมมากน้อยเพียงใด แต่จะต้องศึกษาวิธีการล้างอย่างละเอียด หากห้องเครื่องได้รับความเสียหาย อาจส่งผลต่อสมรรถนะในการขับขี่และกินน้ำมันโดยใช่เหตุ 

  • ฉีดน้ำไล่ฝุ่นบริเวณห้องเครื่องออกให้หมด การฉีดลักษณะนี้ต้องไม่ใช้แรงอัดเยอะจนเกินไป เพราะอาจทำให้ห้องเครื่องเสียหาย และโดนสายไฟด้วย
  • ผสมน้ำยาทำความสะอาดในอัตราที่ไม่ต้องเข้มข้นมาก ชโลมลงทั่วบริเวณห้องเครื่อง และใช้แปรงทำความสะอาดชนิดขนอ่อนนุ่ม เก็บรายละเอียดให้ทั่วทุกซอกมุม และต้องไม่ลืมทำความสะอาดฝากระโปรงเช่นกัน
  • หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วให้ล้างน้ำเปล่าจนกว่าพื้นผิวจะไม่มีฟอง หรือมองไม่เห็นฝุ่นด้วยตาเปล่า ขั้นตอนต่อไปให้เป่าลมจนกว่าน้ำจนแห้งสนิท และสามารถเคลือบเงาพลาสติกภายในห้องเครื่องเพิ่มเติมได้ 
  • ห้ามล้างห้องเครื่องในขณะที่รถกำลังมีอุณหภูมิสูง ควรพักรถให้เย็นสักพัก หรือไปล้างตรงจุดอื่นก่อน เพื่อให้ห้องเครื่องได้คลายความร้อนออกมา 

รถควันดำเครื่องยนต์พังไหม? 

ส่วนมากมักเกิดขึ้นกับรถที่เป็นระบบเครื่องยนต์ดีเซล อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รถมีควันดำออกมา คือ การเผาไหม้ในห้องเครื่องไม่สมบูรณ์ มีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นควันดำออกมา ซึ่งบางท้องที่หากตำรวจเข้มงวด รถคันที่ปล่อยควันดำออกมา อาจมีโทษความผิด และโดนปรับได้ในที่สุด 

  • เปลี่ยนไส้กรองใหม่ เพราะไส้กรอกอันเดิมน่าจะมีฝุ่นอุดตันเป็นจำนวนมาก มีเศษฝุ่นเล็ดลอดเข้าไปตามจุดต่าง ๆ ของห้องเครื่อง 
  • น้ำมันเครื่องมีความหนืด ทำให้ไม่สามารถเพิ่มความหล่อลื่นให้กับชิ้นส่วนภายในห้องเครื่องได้ เกิดการเสียดสีภายใน 
  • ชิ้นส่วนบางอันเกิดความเสื่อมสภาพหรือชำรุด ควรเข้าศูนย์และปรึกษากับทางช่างว่าควรเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นไหนบ้าง 

การดูแลระบบเครื่องยนต์ของรถยนต์ควรทำเป็นประจำ เพราะเครื่องยนต์เปรียบเสมือนได้กับอวัยวะร่างกายสำคัญส่วนหนึ่งในการเคลื่อนที่ หากได้รับความเสียหายหรือการทำงานไม่สัมพันธ์กัน รถจะค่อย ๆ แสดงอาการผิดปกติออกมา ทำให้การขับขี่แปลกไปจากเดิม ไม่ควรละเลยสัญญาณเตือนดังกล่าว การดูแลที่ดีควรจะนำรถไปตรวจเช็คสภาพเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อครบกำหนดระยะทาง นั่นจะทำให้เรารู้ว่าระบบเครื่องยนต์มีการทำงานผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ ควรเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอุปกรณ์ใดไหม เพื่ออายุการใช้งานและสมรรถนะการขับขี่ที่ดีกว่า 


ขอบคุณข้อมูล: https://khaorodnissan.com/ , https://www.autospinn.com/2015/05/8-tips-maintanance-for-cars

——————— Mitsu RMA ยินดีให้บริการ ———————

Inbox : m.me/mitsurma
Link Line : https://line.me/R/ti/p/%40mitsurma
Line ID : @mitsurma
มิตซูลุมพินี : 02-059-4488, 089-9274024
มิตซูพระราม3 : 02-292-1531, 084-387-9425
Website : https://www.mitsurma.com/

ป้ายกำกับ

0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่ากลับสู่ร้านค้า