Chat with us!
Instagram

Mitsu RMA

ประโยชน์ของการเข้าศูนย์ตรวจสภาพใต้ท้องรถ

ประโยชน์ของการเข้าศูนย์ตรวจสภาพใต้ท้องรถ

ประโยชน์ของการเข้าศูนย์ตรวจสภาพใต้ท้องรถ

รถยนต์ก็เหมือนกับร่างกายของมนุษย์ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ก็มีส่วนที่สึกหรอหรือเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ดังนั้นการนำรถไปเข้าศูนย์บริการ เพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญ ทำการเช็กสภาพ จึงมีความจำเป็นที่เจ้าของรถไม่ควรละเลย ซึ่งนอกจากการตรวจภายในและภายนอกรถแล้ว การตรวจสภาพใต้ท้องรถก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ต้องได้รับการวินิจจัยว่ายังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ เพราะเป็นศูนย์รวมระบบความปลอดภัยของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเบรก ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบเลี้ยว ระบบส่งกำลัง เครื่องยนต์ ระบบไอเสียและเชื้อเพลิง ฯลฯ ซึ่งหากมีชิ้นส่วนใดที่ชำรุดเสื่อมสภาพ ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้นั่นเอง 

การตรวจสภาพใต้ท้องรถ ต้องเช็กอะไรบ้าง?

◼ ระบบห้ามล้อของรถยนต์ หรือ ระบบเบรก 

มีหน้าที่ทำให้รถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ ชะลอความเร็ว หยุด หรือจอดรถยนต์ โดยการทำงานของระบบเบรกนั้น จะเป็นการสร้างแรงเสียดทาน บริเวณดิสก์เบรกหรือดรัมเบรก ดังนั้นการตรวจเช็กระบบเบรกรถยนต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

📍รอบการเช็กระบบเบรก 

  • ชุดเบรกล้อหน้าควรเช็กเมื่อขับขี่ถึงระยะ 5,000 กิโลเมตร หรือทุก 6 เดือน
  • ชุดเบรกล้อหลังควรตรวจเช็กเมื่อขับขี่ถึงระยะ 10,000 กิโลเมตร หรือทุก 6 เดือน 
  • ท่อน้ำมันเบรกควรเช็กเมื่อขับขี่ถึงระยะ 10,000 กิโลเมตร หรือทุก 6 เดือน 
  • น้ำมันเบรกควรเช็กเมื่อขับขี่ถึงระยะ 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 24 เดือน  

◼ ระบบรองรับน้ำหนัก หรือ ระบบช่วงล่างรถยนต์ ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของรถยนต์ ซึ่งเป็นส่วนที่จะสัมผัสกับพื้นถนน รวมไปถึงล้อรถยนต์ เมื่อผสานกันแล้วก็จะทำให้เกิดความสมดุลต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน

📍ความสำคัญของระบบช่วงล่างรถยนต์

  •  ช่วยชะลอความเร็วหรือหยุดรถยนต์ ระบบช่วงล่างจะมีส่วนของเบรกมือและเบรกเท้า ซึ่งควบคุมการขับเคลื่อนของรถยนต์ จึงทำให้การเบรกเพื่อหยุดรถ หรือการชะลอความเร็วทำได้ดีขึ้น
  • ป้องกันและรับแรงสั่นสะเทือน ระบบช่วงล่างจะช่วยรับแรงกระแทกหรือแรงสั่นสะเทือน ในกรณีที่รถวิ่งอยู่บนสภาพถนนที่ไม่ปกติ ได้แก่ ทางขรุขระ ทางวิบาก หรือตกหลุม จะช่วยให้ห้องโดยสารได้รับแรงกระแทกจากพื้นหลุมน้อยลง ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลงได้
  • รักษาสมดุลระหว่างถนนและตัวรถยนต์ ในกรณีที่รถวิ่งอยู่บนสภาพถนนที่ไม่ปกติ ได้แก่ ถนนขรุขระหรือเป็นหลุมเป็นบ่อ ระบบช่วงล่างจะปรับระดับความสูงของล้อที่สัมผัสกับพื้นผิวถนน ไม่ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนกับตัวพื้นรถด้านล่างนั่นเอง

◼ ระบบบังคับเลี้ยวรถยนต์ ทำหน้าที่เชื่อมโยงพวงมาลัยและล้อหน้าของรถยนต์ ซึ่งรถยนต์ในปัจจุบันจะใช้ระบบบังคับเลี้ยวแบบ RACK AND PINION STEERING โดยจะส่งสัญญาณจากพวงมาลัยไปยังล้อ  โดยการการตั้งศูนย์ล้อจะช่วยให้ระบบการบังคับเลี้ยวทำงานได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัยในการขับขี่นั่นเอง

◼ ระบบส่งกำลัง จะทำหน้าที่ถ่ายทอดการหมุนของเครื่องยนต์ไปยังล้อ เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยผ่านส่วนประกอบหลายชิ้น ได้แก่ คือ ชุดคลัตช์, ชุดเกียร์, เพลาขับ, ชุดเฟืองท้าย, เพลา และล้อ ขึ้นอยู่กับประเภทของการขับเคลื่อนรถยนต์ 

◼ ระบบไอเสียรถยนต์ ทำหน้าที่ในการกรองมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ให้ออกมาสู่อากาศให้น้อยที่สุด รวมไปถึงการระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์ ช่วยลดเสียงระเบิดให้น้อยลง 

วิธีสังเกตท่อไอเสียชำรุด 

  • ท่อไอเสียเกิดสนิมจับหรือมีรอยแตก  
  • มีเสียงดังผิดปกติออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ 
  • มีเสียงออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ ขณะกำลังขับขี่ 
  • คันเร่งสั่นผิดปกติหรือเหยียบคันเร่งไม่ค่อยขยับ ซึ่งอาจเกิดการแตกรั่วในระบบท่อไอเสีย  
  •  มีกลิ่นเหม็นไหม้กระจายเข้าสู่ห้องโดยสาร ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายหากสูดดมเข้าไป

◼  ระบบเชื้อเพลิง จะทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้ความดันที่เหมาะสมให้กับหัวฉีด ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ในทุกสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์  

วิธีการดูแลรักษาระบบเชื้อเพลิง 

  • ไม่ควรปล่อยให้น้ำมันเหลือน้อยหรือหมดเกลี้ยง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อการระบายความร้อน และปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงอาจพังได้ 
  • เลือกเติมน้ำมันคุณภาพสูง จะช่วยคัดกรองน้ำมันคุณภาพต่ำ ที่มักจะมีสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมที่ปนน้ำมันทำให้ชิ้นส่วนภายในของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดการสึกหรอได้เร็ว และยังอาจทำให้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงตันอีกด้วย

◼ โครงสร้างตัวถัง หรือ แชสซี

เป็นโครงสร้างสำคัญที่สุดของตัวรถยนต์ เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของรถยนต์ โดยจะมีลักษณะเป็นโครงเหล็ก จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับทั้งเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง เพลาขับ และช่วงล่างเอาไว้ด้วยกัน สำหรับตัวถังรถยนต์ ในอดีตคือชิ้นส่วนโลหะที่ถูกออกแบบและนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชิ้นส่วนที่ทำให้เกิดเป็นรูปโฉมของรถยนต์ ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ได้ออกแบบให้ แชสซี และ ตัวถัง รวมเป็นชิ้นส่วนชนิดเดียวกันในรถเก๋งทั่วไป เพื่อการรองรับขับขี่ที่นุ่มนวลนั่นเอง

◼ ล้อและยางรถยนต์ 

มีความสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของรถยนต์บนท้องถนน 

โดยทำหน้าที่สำคัญ ได้แก่ รองรับน้ำหนักของตัวรถยนต์ ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากพื้นผิวถนน และการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวรถหรือการบังคับเลี้ยว 

📍การเปลี่ยนยางหรือกระทะล้อ ควรคำนึงถึงขนาดของยาง และกระทะล้อให้ถูกต้อง บางครั้งอาจต้องสลับยางกัน เนื่องจากยางรถยนต์เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง จะเกิดการสึกหรอของหน้ายางรถยนต์ในแต่ละเส้นไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นผลมาจากจากสภาพการใช้งาน และ สภาพถนน และควรหมั่นตรวจเติมลมยางตามค่ามาตราฐาน เพื่อรักษาสภาพยางรถยนต์ให้สมบรูณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

◼ ยางแท่นเครื่อง ทำหน้าที่ยึดเครื่องยนต์เข้ากับฐานรถ หรือ แชสซี ทั้งยังช่วยลดการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ ทำให้การขับขี่ราบรื่นขึ้น ซึ่งเมื่อใช้รถยนต์ไปนาน ๆ ก็ทำให้ยางแท่นเครื่องเกิดการสึกหรอหรือแตกหักได้

ประโยชน์ของการเข้าศูนย์ตรวจสภาพใต้ท้องรถ

◾ช่วยให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย เหตุผลสำคัญของการขับขี่คือความปลอดภัย การดูแลให้รถยนต์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง และเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ขับขี่ ทั้งยังลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ชำรุดหรือเสื่อมสภาพลงได้อีกด้วย

◾ช่วยยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ให้ยาวนานขึ้น การตรวจเช็กสภาพและบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะทาง สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ให้ยาวนานได้

เนื่องจากอะไหล่บางตัวหากเกิดการสึกหรอ ก็จะส่งผลให้ตัวอื่นสึกหรอตามไปด้วย จนอาจเป็นสาเหตุทำให้รถยนต์ไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นการตรวจสภาพและบำรุงรักษา จะช่วยให้รถยนต์มีความคงทนสามารถใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้นนั่นเอง

◾ช่วยลดค่าใช้จ่าย การตรวจเช็กสภาพรถยนต์ตามระยะเวลา จะทำให้เครื่องยนต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบเชื้อเพลิงทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ลดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้

◾ ได้รับการบริการจากผู้เชี่ยวชาญ การนำรถยนต์เข้ารับการตรวจสภาพที่ศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่ได้ว่าจะได้รับบริการจากช่างมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ หากมีชิ้นส่วนที่ชำรุดสึกหรอต้องซ่อมแซม อะไหล่ที่ถูกนำมาเปลี่ยนจะเป็นของแท้ ที่สามารถใช้งานได้ในระยะยาว รวมไปถึงการรับประกันและบริการหลังการซ่อมที่ทำให้เจ้าของรถวางใจได้ 

ตรวจสภาพรถที่ไหนได้บ้าง?

สามารถติดต่อเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการทั่วไป หรือศูนย์บริการ มิตซู อาร์เอ็มเอ ได้ทุกสาขา ตามช่องทางด้านล่างนี้ได้

โชว์รูมและศูนย์บริการมาตราฐาน มิตซูบิชิ อาร์เอ็มเอ ลุมพินี

โชว์รูมและศูนย์บริการมาตราฐาน มิตซูบิชิ อาร์เอ็มเอ พระราม3

กรณีที่จะต่อภาษีหรือต่อทะเบียนสำหรับผู้ที่รถยนต์อายุการใช้งาน 7 ปี ขึ้นไป จะต้องนำรถไปตรวจสภาพกับ ตรอ. คือสถานสภาพรถเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นสถานที่เอาไว้ใช้ตรวจสภาพรถว่ามีความพร้อมในการใช้งานบนท้องถนนตามข้อกำหนดทางกรมการขนส่งฯ  

โดยเหตุผลที่ต้องนำไปตรวจสอบกับ ตรอ.  อ้างอิงจากพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่า “รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งจะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนครบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง”

  • รถที่ต้องตรวจสอบสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปีมีดังนี้
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป

——————— Mitsu RMA ยินดีให้บริการ ———————

Inbox : m.me/mitsurma
Link Line : https://line.me/R/ti/p/%40mitsurma
Line ID : @mitsurma
มิตซูลุมพินี : 02-059-4488, 089-9274024
มิตซูพระราม3 : 02-292-1531, 084-387-9425
Google Map มิตซูลุมพินี : https://bit.ly/2RAQsgk
Website : https://www.mitsurma.com/

ป้ายกำกับ

0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่ากลับสู่ร้านค้า