ประเภทรถจดทะเบียนแบ่งอย่างไร
ว่าด้วยการแบ่งประเภทรถจดทะเบียนตามกฎหมายที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดนั้นเราคุ้นเคยและพบเจอมากที่สุดคือรถนั่งส่วนบุคคล คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่ามียานพาหนะประเภทอื่นอีกไหมที่จะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ
วันนี้เราได้นำภาพข้อมูลรถประเภทต่างๆ ตั้งแต่ รย.1 ถึง รย.17 ซึ่งมีผลต่อการต่อทะเบียน พ.ร.บ. และต่อภาษีประจำปี จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2473 ซึ่งรายละเอียดที่แยกประเภทจะมีแบบลักษณะ และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันออกไป โดยการแบ่งตามแต่ละประเภทนี้นำมาซึ่งความต่างของการเสียภาษีป ค่าธรรมเนียมในการโอน และเอกสารในการทำเรื่องของกรมขนส่งที่แตกต่างกัน ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ได้มีการแบ่งประเภทรถจดทะเบียนในประเทศไทยจำแนกทั้งหมดเป็น 17 ประเภท จะแบ่งแต่ละประเภทอย่างไรบ้างตามรายละเอียดดังนี้
ประเภทที่ 1 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน หรือ รย.1 ขนาดของรถทต้องกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 12 เมตร
ประเภทรถจดทะเบียนนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ดังนี้
- เก๋งตอนเดียว
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
- นั่งสองแถว
- นั่งสองตอนสองแถว
- นั่งสองตอนท้ายบรรทุก
- ประทุนตอนเดียว
- ประทุนสองตอน
- ตู้นั่งสามตอน
- รถเฉพาะกิจ (มอเตอร์โฮม)
- รถเฉพาะกิจ (ถ่ายทอดสัญญาณ)
- รถเฉพาะกิจพยาบาล
ประเภทที่ 2 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือ รย.2 รถต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 12 เมตร รวมถึงความยาวของตัวถัง ศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถ ต้องมีความยาวไม่เกิน 2 ใน 3 ของความยาว (สามารถวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อและหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง)
ประเภทรถจดทะเบียนนั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ดังนี้
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
- นั่งสองตอนสองแถว
- นั่งสองแถว
- ตู้นั่งสามตอน
- ตู้นั่งสี่ตอน
- รถเฉพาะกิจ (มอเตอร์โฮม)
- รถเฉพาะกิจพยาบาล
ประเภทที่ 3 : รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หรือ รย.3 ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 12 เมตร รวมถึงความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถต้องไม่เกิน 3 ใน 5 (สามารถความยาววัดจาก ศูนย์กลางเพลาล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง)
ประเภทของรถบรรทุกส่วนบุคคล ดังนี้
- เก๋งทึบบรรทุก
- กระบะบรรทุกพื้นเรียบ
- กระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (เสริมกระบะข้าง)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้าย)
- ตู้บรรทุก
- รถดับเพลิง
- รถเฉพาะกิจ (ขยะมูลฝอย)
- รถเฉพาะกิจ (คอนกรีต)
- รถเฉพาะกิจ (น้ำอัดลม)
- รถเฉพาะกิจ (น้ำ)
- รถเฉพาะกิจ (ซีเมนต์ผง)
ประเภทที่ 4 : รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือ รย.4 ขนาดของรถต้องมีขนาดความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร และยาวไม่เกิน 4 เมตร ส่วนในเรื่องของเครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร ประเภทของรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ดังนี้
- ประทุนสองตอน
- ประทุนสามตอน
- ประทุนสองแถว
- กระบะบรรทุกพื้นเรียบ
- กระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (เสริมกระบะข้าง)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคาปิดด้านข้างและด้านท้าย)
- ตู้บรรทุก
ประเภทที่ 5 : รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด หรือ รย.5 แน่นอนว่าตามประเภทนี้ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตูเท่านั้น (น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม) ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร รวมถึงเครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร และที่สำคัญตามกฎหมายรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารห้ามเกินเจ็ดคน
ประเภทรถรับจ้างระหว่างจังหวัด ดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 6 : รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน หรือรย.6 นอกจากจะต้องเป็นรถเก๋งสองตอน ขนาดห้ามกว้างเกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดอื่นๆในรถประเภทนี้ที่กำหนดไว้อีกด้วย
- มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู ซึ่งต้องเป็นประตูที่มิได้ติดตั้งระบบควบคุมการปิดเปิดประตูรถจากศูนยก์ลาง (CENTRAL LOCK)
- กระจกกันลมต้องโปร่งใสเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในรถและสภาพการจราจรภายนอก
- ห้ามติดวัสดุใดหรือปิดส่วนใด ของกระจก เว้นแต่เป็นเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด หากติดวัสดุที่มีลักษณะบังหรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมหน้าจะต้องปฏิบัติตามขนาดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
- เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป
- ประเภทรถจดทะเบียนรถยนต์รับจ้าง หรือ รถแท็กซี่ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 17 เมษายน 2535 ข้อกำหนดคือต้องเป็นรถเก๋งสองตอนหรือรถเก๋งสองตอนที่มีพื้นที่บรรทุกภายในรถ ตัวรถต้องผลิตจากสำเร็จจากผู้ผลิตเท่านั้น และมีความกว้างของตัวรถต้องไม่เกิน 2.5 เมตร ความยาวต้องไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู และมีเครื่องยนต์ที่มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ประเภทรถรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 7 : รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง หรือ รย.7 ลักษณะของประเภทรถจดทะเบียนนี้ต้องเป็นรถสองตอน ขนาดของรถต้องมีความกว้างของไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร และมีมากกว่าสองประตู
ประเภทรถสี่ล้อเล็กรับจ้าง ดังนี้
- นั่งสองตอน
ประเภทที่ 8 : รถยนต์รับจ้างสามล้อ หรือ รย.8 ต้องรถรับจ้างสามล้อแบบเปิดประทุนทนั่ง 2 ตอน หรือ 2 แถวนั่นเอง ขนาดกว้างห้ามเกิน 1.50 เมตร และยาวไม่เกิน 4 เมตร
ประเภทรถรับจ้างสามล้อ ดังนี้
- ประทุนสองตอน
- ประทุนสองแถว
ประเภทที่ 9 : รถยนต์รับจ้างสามล้อ หรือ รย.9 รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ลักษณะเป็นรถเก๋ง สองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งเป็นรถยนต์โดยสารประจำทางเป็นพาหนะที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อขนส่งผู้โดยสารไปยังโรงแรม ที่อยู่อาศัย สำนักงานผู้โดยสาร หรือผู้ให้บริการทางธุรกิจ
ประเภทรถรับจ้างสามล้อ ดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 10 : รถยนต์บริการทัศนาจร หรือ รย.10 อนุญาตให้ใช้รถยนต์โดยสารหรือรถเช่าที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งเป็นประเภทรถจดทะเบียนที่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
ประเภทรถบริการทัศนาจร ดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 11 : รถยนต์บริการให้เช่า หรือ รย.11 รถยนต์โดยสารหรือรถเช่าที่สามารถนั่งได้เพียง 7 คน ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู รถยนต์ต้องมีน้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดของรถกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งมิใช่รถที่ให้เช่าเพื่อบรรทุกคนโดยสารหรือสิ่งของ.
ประเภทรถบริการให้เช่า ดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 12 : รถจักรยานยนต์ หรือ รย.12 ลักษณะของรถนั้นต้อมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่ม อีกไม่เกินหนึ่งล้อเท่านั้น ขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร และยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ในกรณีที่มีพ่วงข้างลักษณะรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร และยาวไม่เกิน 1.75 เมตร อีกทั้งหากเมื่อนำมาพ่วงกับรถจักรยานยนต์แล้วจะต้องกว้างไม่เกิน 1.5 เมตร จากล้อหลังของรถจักรยานยนต์ถึงล้อรถพ่วง
ประเภทรถจักรยานยนต์ ดังนี้
- จักรยานยนต์
- จักรยานยนต์พ่วงข้าง (มี/ไม่มีหลังคา)
ประเภทที่ 13 : รถแทรกเตอร์ หรือ รย.13 เยานยนต์คือยานพาหนะที่มีล้อหรือสายพานซึ่งมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรเกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน หรือฉุดลาก เป็นต้น ตามลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องมีความกว้างไม่เกิน 4.40 เมตร และยาวไม่เกิน 16.20 เมตร
ประเภทรถแทรกเตอร์ ดังนี้
- รถขุดตัก
- รถแทรกเตอร์
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร
ประเภทที่ 14 : รถบดถนน หรือ รย.14 รถที่รู้จักกันดีอย่างรถทำถนน (บดอัดวัสดุบนพื้นให้แน่น) ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 3.50 เมตร และยาวไม่เกิน 8 เมตร
ประเภทที่ 15 : รถใช้งานเกษตรกรรม หรือ รย.15 รถที่ใช้เพื่องานเกษตรเท่านั้น แบะมีสามหรือสี่ล้อตามลักษณะบังคับต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร รวมถึงเครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ประเภทที่ 16 : รถพ่วง หรือ รย.16 เป็นส่วนพ่วง หรือรถส่วนที่ต้องใช้รถอื่นลากจูงนั่นเอง ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร
ประเภทที่ 17 : รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือ รย.17 จักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ความยาวไม่เกิน 2.50 เมตร และมีความสูงไม่เกิน 2 เมตร
*ไม่รวมรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและจักรยานที่ติดเครื่องยนต์
ขอขอบคุณข้อมูล : www.dlt.go.th , www.car.kapook.com
——————— Mitsu RMA ยินดีให้บริการ ———————
Inbox : m.me/mitsurma
Link Line : https://line.me/R/ti/p/%40mitsurma
Line ID : @mitsurma
มิตซูลุมพินี : 02-059-4488, 089-9274024
มิตซูพระราม3 : 02-292-1531, 084-387-9425
Google Map มิตซูลุมพินี : https://bit.ly/2RAQsgk
Website : https://www.mitsurma.com/